นโยบายผู้บริหาร
![]() นายกลยุทธ ฉายแสง
แถลงต่อสภาเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา วันที่ 7 พฤษภาคม 2564ณ ห้องประชุมศูนย์การเรียนรู้เมืองฉะเชิงเทรา
เรียน ท่านประธานสภาเทศบาลฯและท่านสมาชิกสภาเทศบาลเมืองฉะเชิงเทราผู้ทรงเกียรติทุกท่านครับ
ตามที่ได้มีการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีเมืองฉะเชิงเทรา และสมาชิกสภาเทศบาล ตั้งได้ประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง เมื่อวันอังคารที่ 20 เมษายน 2564 แล้ว นั้น ในห้วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีหลายสิ่งเปลี่ยนแปลงไปอย่างก้าวกระโดด ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี และในปัจจุบันเราได้ประสบกับปัญหาโรคติดต่อร้ายแรง COVID – 19 ซึ่งทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ ได้ส่งผลกระทบกับการดำเนินชีวิตของพี่น้องประชาชนทุกๆคน และสำหรับเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา ก็ได้รับผลกระทบจากภาวะนี้ เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นงบประมาณในการพัฒนาท้องถิ่นที่ลดลง ตลอดจนนโยบายต่างๆจากส่วนกลาง ซึ่งเป็นข้อจำกัดที่ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงภายในเมืองฉะเชิงเทราอย่างมากมาย ซึ่งกระผมและคณะผู้บริหาร ก็ได้พยายามบริหารจัดการงานของเทศบาลภายใต้ข้อจำกัดต่างๆ ในห้วงระยะเวลาที่ผ่านมา จนสำเร็จลุล่วงไปได้ ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญ คือ การได้รับการสนับสนุนจากท่านสมาชิกสภาเทศบาลผู้ทรงเกียรติ พี่น้องประชาชนในเขตเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา ที่ได้ร่วมคิด ร่วมสร้าง ร่วมให้ความเห็น ตลอดจนพนักงานเทศบาลและลูกจ้างทุกๆคน ที่ช่วยกันผลักดันและดำเนินการ จนทำให้หลายๆนโยบาย ที่กระผมได้นำเสนอต่อพี่น้องประชาชนเป็นรูปธรรมขึ้นมา ในช่วงระยะเวลา 4 ปีต่อจากนี้ไป จะเป็นห้วงเวลาที่กระผมต้องปฏิบัติหน้าที่ให้ ดังนั้น เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามความในมาตรา 48 ทศ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่14) พ.ศ.2562 ความว่า “ก่อนนายกเทศมนตรีเข้ารับหน้าที่ ให้ประธานสภาเทศบาลเรียกประชุมสภาเทศบาล เพื่อให้นายกเทศมนตรีแถลงนโยบายต่อสภาเทศบาล โดยไม่มีการลงมติ ทั้งนี้ ภายในสามสิบวันนับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้งนายกเทศมนตรี” กระผมจึงได้กำหนดนโยบายในการบริหารเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา เพื่อแถลงต่อสภาเทศบาลเมืองฉะเชิงเทราไว้ 6 ด้าน ดังนี้
1. นโยบายด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.4 ส่งเสริม สนับสนุน และร่วมดำเนินการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีการนำสายไฟฟ้าลงใต้ดิน ในถนนสายสำคัญภายในเขตเทศบาล
2.นโยบายด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2.4 พัฒนาระบบกำจัดขยะมูลฝอยของเทศบาลให้สามารถรองรับการขยายตัวของเมืองในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(EEC)โดยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากประชาชน ในการจัดการขยะมูลฝอย ตั้งแต่ต้นทางโดยการลดและคัดแยกขยะผ่านเครือข่ายภาคประชาชน ภาครัฐและเอกชนรวมถึงองค์กรอาสาสมัครด้านสิ่งแวดล้อม กลางทางโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการรวบรวม และเก็บขนขยะ และปลายทางโดยการกำจัดขยะด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม
3. นโยบายด้านการศึกษา นโยบายที่มุ่งเน้น การขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการศึกษา ให้มีคุณภาพ
4.นโยบายด้านการสาธารณสุข
4.1ส่งเสริมและพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขให้ครอบคลุม ทั้งมิติการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันควบคุมโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพ ให้ความสำคัญกับกระบวนการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม โดยเน้นการสร้างเสริมสุขภาพ มากกว่าการซ่อมสุขภาพ
4.2สนับสนุนและประสานงานเชื่อมโยงกับองค์กรเครือข่ายต่าง ๆ ในการดำเนินงานด้านสุขภาพ มุ่งสู่กระบวนการพัฒนาระบบบริการสุขภาพเชิงรุก โดยสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการดูแลภาวะสุขภาพอนามัยให้ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย ทุกเพศ ทุกวัย อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง
4.3เสริมสร้าง สุขภาวะของประชาชน โดยจัดให้มีสถานที่ อุปกรณ์ และกิจกรรม สำหรับกีฬาและนันทนาการ เพื่อสร้างสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดีให้แก่ประชาชน
4.4สนับสนุนการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนางานด้านสาธารณสุขในการจัดเก็บข้อมูล การติดต่อสื่อสาร การประชาสัมพันธ์ เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการปฏิบัติงาน ทันต่อเหตุการณ์ ทำให้ประชาชนเกิดความพอใจสูงสุด
4.5ส่งเสริมให้ประชาชนมีโอกาสรับรู้ข่าวสารด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้อง สามารถถ่ายทอดและนำไปใช้ประโยชน์ในการดูแลพฤติกรรมสุขภาพตนเองและผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม
5.นโยบายด้านการพัฒนาด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจและความเข้มแข็งของชุมชน
เป็นนโยบายที่เสริมสร้างศักยภาพความเข็มแข็งให้ชุมชน บนฐานของการพึ่ง ตนเอง และการพึ่งพาซึ่งกันและกันในท้องถิ่น ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีบนฐานรากความเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั่งยืน โดยมีแนวทางการดำเนินการตามนโยบาย ดังนี้
5.1 ดำเนินการจัดตั้งชุมชนที่มีความพร้อมให้เพิ่มขึ้น เพื่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการการพัฒนาชุมชน ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชน สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่ม และสร้างเครือข่ายความร่วมมืออย่างหลากหลาย
แบบมีส่วนร่วม เกิดการบูรณาการงานในทุกมิติ ทำให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน 5.2 ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ด้วยทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคม และทุนทรัพยากรธรรมชาติ อย่างมีดุลยภาพและบูรณาการ
5.3 ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองฉะเชิงเทรา ทั้งในด้านศิลปะ วัฒนธรรมประเพณี ดนตรี และกีฬาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เมืองเป็นศูนย์กลางขององค์ความรู้ด้านศิลปะในทุกแขนง เป็นจุดสนใจของนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ อันจะเป็นการช่วยส่งเสริมความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจ และสังคมของท้องถิ่น
5.4 ส่งเสริมการฝึกอาชีพเพื่อพัฒนารายได้ให้แก่ประชาชน จัดหาสถานที่สำหรับจำหน่ายผลิตภัณฑ์ และเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้า เช่น ผ่านช่องทางออนไลน์ และทางแพลตฟอร์มดิจิทัลของเทศบาล
5.5 ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประชาชน เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มทุกช่วงวัยได้ตระหนักและรู้ถึงบทบาทหน้าที่ของตนต่อครอบครัวและสังคม ด้วยการจัดกิจกรรมและใช้เครื่องมือที่หลากหลายเหมาะสมอย่างต่อเนื่อง สามารถใช้ชีวิตให้อยู่ในสังคมอย่างปลอดภัย ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด สังคมเป็นสังคมที่เข้มแข็ง อย่างยั่งยืน
5.6 ดำเนินการด้านการสวัสดิการสังคม เพื่อติดตามให้บริการช่วยเหลือประชาชนผู้มีสิทธิ ได้เข้าถึงรัฐสวัสดิการทุกประเภท อีกทั้งบูรณาการงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ประชาชนผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มคนเปราะบางในเขตเทศบาลมีสิทธิเข้าถึงสวัสดิการของรัฐ การสังคมสงเคราะห์ทุกกรณีได้อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง
6. นโยบายด้านการเมืองการบริหาร การรักษาความปลอดภัยและความสงบ เรียบร้อย
มุ่งเน้นพัฒนาการบริหารงานของเทศบาล เพื่อตอบสนองความต้องการและแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน ดูแลรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงาน โดยมีแนวทางการดำเนินนโยบาย ดังนี้ 6.1 นำหลักธรรมาภิบาลมาถือปฏิบัติในการบริหารงานเพื่อให้เกิดความเสมอภาค โปร่งใส ตรวจสอบได้ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน และภาคส่วนต่างๆ เพื่อให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือสามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน และสนองความต้องการของประชาชนในเขตเทศบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.2 พัฒนาบุคลากรของเทศบาลให้มีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ในการทำงานอย่างมืออาชีพ เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมให้มีความตระหนักในหน้าที่ พร้อมทั้งพัฒนาวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ทันสมัย มีประสิทธิภาพ เพื่อส่งเสริมการบริการเชิงรุกแก่ประชาชน
6.3 นำเทคโนโลยีและสารสนเทศ มาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดเก็บรายได้ให้ถูกต้อง ครบถ้วนและเป็นธรรม โดยใช้แผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินเป็นแนวทาง เพื่อนำรายได้มาพัฒนาเทศบาลต่อไป 6.4 พัฒนาเมืองฉะเชิงเทราให้เป็นเมืองแห่งความปลอดภัย ด้วยการติดตั้งกล้องวงจรปิด ครอบคลุมภายในเขตเทศบาล พร้อมเสริมเทคโนโลยี AI (Artificial Intelligence) ในรูปแบบการประมวลผลปัญญาประดิษฐ์ เช่นการรู้จำใบหน้า การรู้จำป้ายทะเบียนและยานพาหนะ รวมถึงพฤติกรรมที่ผิดปกติ เป็นต้น และ เทคโนโลยี IoT (Internet of Things) สำหรับการรวมศูนย์ข้อมูลในการวิเคราะห์บริหารและจัดการ การทำงานที่เกิดขึ้น อาทิ เช่น การตรวจจับสภาพมลพิษทางอากาศ PM 2.5 พร้อมการแจ้งเตือนแบบอัตโนมัติ การตรวจจับตรวจนับปริมาณการจราจรที่เกิดขึ้นในพื้นที่ การตรวจจับตรวจนับปริมาณบุคคลเข้ามาในพื้นที่วัดโสธรวรารามวรวิหารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
6.5 จัดหาวัสดุอุปกรณ์ดับเพลิง และเครื่องมือเครื่องใช้ให้ทันสมัย มีประสิทธิภาพและเพียงพอ พร้อมใช้ในการป้องกันและระงับอัคคีภัยได้ตลอดเวลา
ท่านประธานสภาเทศบาลและสมาชิกสภาเทศบาลเมืองฉะเชิงเทราผู้ทรงเกียรติ ทุกท่านครับ จากนโยบายทั้ง 6 ด้าน ที่กระผมได้เสนอต่อสภาเทศบาลเมืองฉะเชิงเทราในวันนี้เป็นนโยบายที่กำหนดขึ้น บนพื้นฐานความเข้าใจในลักษณะกายภาพของเมือง อำนาจหน้าที่ของเทศบาลตามกฎหมาย และปัญหาความต้องการของพี่น้องประชาชน ซึ่งกระผมพร้อมคณะผู้บริหารเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา มีความตั้งใจจริง ที่จะนำนโยบายต่างๆ ไปสู่การปฏิบัติ และพร้อมที่จะรับฟังข้อเสนอแนะจากพี่น้องประชาชนทุกท่าน เพื่อร่วมกันดูแลบ้านเมืองของเรา ให้พี่น้องประชาชนในเขตเทศบาลได้รับประโยชน์สูงสุดตามเจตนารมณ์ต่อไปครับ
|
|
4.1 ส่งเสริมและพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขให้ครอบคลุม ทั้งมิติการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันควบคุมโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพ ให้ความสำคัญกับกระบวนการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม โดยเน้นการสร้างเสริมสุขภาพ มากกว่าการซ่อมสุขภาพ
4.๒ สนับสนุนและประสานงานเชื่อมโยงกับองค์กรเครือข่ายต่าง ๆ ในการดำเนินงานด้านสุขภาพ มุ่งสู่กระบวนการพัฒนาระบบบริการสุขภาพเชิงรุก โดยสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการดูแลภาวะสุขภาพอนามัยให้ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย ทุกเพศ ทุกวัย อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง
4.๓ เสริมสร้าง สุขภาวะของประชาชน โดยจัดให้มีสถานที่ อุปกรณ์ และกิจกรรม สำหรับกีฬาและนันทนาการ เพื่อสร้างสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดีให้แก่ประชาชน
4.๔ สนับสนุนการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนางานด้านสาธารณสุขในการจัดเก็บข้อมูล การติดต่อสื่อสาร การประชาสัมพันธ์ เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการปฏิบัติงาน ทันต่อเหตุการณ์ ทำให้ประชาชนเกิดความพอใจสูงสุด
4.5 ส่งเสริมให้ประชาชนมีโอกาสรับรู้ข่าวสารด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้อง สามารถถ่ายทอดและนำไปใช้ประโยชน์ในการดูแลพฤติกรรมสุขภาพตนเองและผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม
1. นโยบายด้านการพัฒนาด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจและความเข้มแข็งของ
ชุมชน
เป็นนโยบายที่เสริมสร้างศักยภาพความเข็มแข็งให้ชุมชน บนฐานของการพึ่ง
ตนเอง และการพึ่งพาซึ่งกันและกันในท้องถิ่น ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีบนฐานรากความเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั่งยืน โดยมีแนวทางการดำเนินการตามนโยบาย ดังนี้
๕.๑ ดำเนินการจัดตั้งชุมชนที่มีความพร้อมให้เพิ่มขึ้น เพื่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการการพัฒนาชุมชน ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชน สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่ม และสร้างเครือข่ายความร่วมมืออย่างหลากหลาย
แบบมีส่วนร่วม เกิดการบูรณาการงานในทุกมิติ ทำให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน
๕.๒ ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ด้วยทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคม และทุนทรัพยากรธรรมชาติ อย่างมีดุลยภาพและบูรณาการ