ส่วนราชการ
โครงสร้างส่วนราชการของเทศบาล
การจัดส่วนราชการและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการของเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา โดยแบ่งส่วนการบริหารงานได้ 8 กอง ดังนี้
1. สำนักปลัดเทศบาล มีอำนาจหน้าที่การจัดทำทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชน งานด้านกิจการสภาให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย รับเรื่องราวร้องทุกข์ของประชาชนทั่วไปที่ได้รับความเดือดร้อน งานสารบรรณของเทศบาล งานรัฐพิธี งานรักษาความสะอาดและความปลอดภัยของสถานที่ราชการ งานป้องกันและระงับอัคคีภัย และการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ดูแลด้านการจราจร การส่งเสริมการท่องเที่ยว งานฌาปนกิจสงเคราะห์ (ถ่ายโอนภารกิจจากสำนักกิจการสตรี และสถาบันครอบครัว กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา (นายโกเมศ แดงทองดี) ส่งมอบเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2547 มีจำนวน 6 แห่ง คือ สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ของสมาชิกสหกรณ์ฉะเชิงเทรา สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ของลูกค้า ธกส. สาขาฉะเชิงเทรา สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ของผู้ฝากเงิน ธกส. ฉะเชิงเทรา สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ของลูกค้า ธกส. สาขาฉะเชิงเทรา 3 สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ของลูกค้า ธกส. สาขาฉะเชิงเทรา 4 และสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ของลูกค้า ธกส. สาขาระดับจังหวัดฉะเชิงเทรา) งานบริหารสถานีขนส่ง (ถ่ายโอนภารกิจจากกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม โดยขนส่งจังหวัดฉะเชิงเทราส่งมอบสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2548) และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีส่วนราชการภายในสำนักปลัดเทศบาล ดังนี้
(1) ฝ่ายบริหารงานทั่วไป ประกอบด้วย
- งานธุรการ
(2) ฝ่ายอำนวยการ ประกอบด้วย
- งานการเจ้าหน้าที่
(3) ฝ่ายปกครอง ประกอบด้วย
- งานส่งเสริมการท่องเที่ยว
- งานทะเบียนราษฎร
(4) ฝ่ายป้องกันและรักษาความสงบ ประกอบด้วย
- งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
- งานรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคง
2. กองวิชาการและแผนงาน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์นโยบายและแผน การจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล การติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนและโครงการต่าง ๆ การจัดทำเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณเพิ่มเติม การจัดทำนิติกรรมสัญญา การดำเนินการทางวินัย งานบริการและเผยแพร่วิชาการ การจดทะเบียนพาณิชย์ (ถ่ายโอนภารกิจจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดฉะเชิงเทราส่งมอบ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2554) และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีส่วนราชการภายในกองวิชาการและแผนงาน ดังนี้
(1) ฝ่ายบริหารงานทั่วไป ประกอบด้วย
- งานธุรการ
(2) ฝ่ายแผนงานและงบประมาณ ประกอบด้วย
- งานวิเคราะห์นโยบายและแผน
- งานจัดทำงบประมาณ
(3) ฝ่ายนิติการ ประกอบด้วย
- งานนิติกรรมสัญญา
(4) ฝ่ายบริการและเผยแพร่วิชาการ ประกอบด้วย
- งานบริการและเผยแพร่วิชาการ
3. กองคลัง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารด้านการเงินการคลัง การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การพัสดุ การจัดซื้อจัดจ้าง การนำส่งเงิน การเก็บรักษาเงินและเอกสารของการเงิน การตรวจสอบทางการเงิน การจัดทำบัญชีและงบการเงินที่เกี่ยวข้อง การตรวจสอบ ควบคุม บำเหน็จบำนาญของพนักงานและลูกจ้างประจำ การจัดเก็บภาษี เช่น ภาษีโรงเรือน ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีป้าย ค่าธรรมเนียม ค่าปรับ ใบอนุญาตต่าง ๆ ที่กฎหมายกำหนด งานผลประโยชน์ และกิจการเทศพาณิชย์ การเก็บข้อมูลด้านแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีส่วนราชการภายในกองคลัง ดังนี้
(1) ฝ่ายบริหารงานคลัง ประกอบด้วย
- งานการเงินและบัญชี
- งานพัสดุและทรัพย์สิน
(2) ฝ่ายพัฒนารายได้ ประกอบด้วย
- งานผลประโยชน์และกิจการพาณิชย์
(3) ฝ่ายแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน ประกอบด้วย
- งานแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน
(4) งานธุรการ
4. กองการศึกษา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษาและส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เช่น การจัดการศึกษาปฐมวัย การจัดการศึกษาภาคบังคับ งานธุรการ งานการเจ้าหน้าที่ งานบริหารวิชาการ งานโรงเรียน งานศึกษานิเทศน์ งานกิจการนักเรียน งานการศึกษาปฐมวัย งานกิจการศาสนา ส่งเสริมประเพณี ศิลปวัฒนธรรม งานกีฬาและนันทนาการ งานกิจกรรมเด็กเยาวชนและการศึกษานอกโรงเรียน งานบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา (เปิดให้ บริการตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน 2552 เป็นต้นไป) งานจัดหาอาหารเสริม (นม) และอาหารกลางวัน (ถ่ายโอนภารกิจจากกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2546) งานจัดหาอาหารกลางวัน (ถ่ายโอนภารกิจจากสำนักงานประถมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2546) การบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้เมืองฉะเชิงเทรา (ตั้งแต่ปี 2556) และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีส่วนราชการภายในกองการศึกษา ดังนี้
(1) ฝ่ายบริหารงานทั่วไป ประกอบด้วย
- งานธุรการ
(2) ฝ่ายแผนงานและโครงการ ประกอบด้วย
- งานงบประมาณ
- งานระบบสารสนเทศ
- งานแผนงานและโครงการ
- งานการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย
(3) ฝ่ายบริหารการศึกษา ประกอบด้วย
- งานการเจ้าหน้าที่
- งานโรงเรียน
- งานกิจการนักเรียน
(4) ฝ่ายส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ประกอบด้วย
- งานกิจการศาสนา
- งานส่งเสริมประเพณี ศิลปะและวัฒนธรรม
- งานกีฬาและนันทนาการ
- งานการศึกษาไม่กำหนดระดับ
(5) หน่วยศึกษานิเทศก์
5. กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสาธารณสุขชุมชน งานรักษาความสะอาดและการสุขาภิบาล งานส่งเสริมสุขภาพอนามัย การป้องกันโรคติดต่อ งานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม งานให้ บริการดูดสิ่งปฏิกูล งานสุขาภิบาลอาหารและโภชนาการ งานควบคุมการประกอบการค้าที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งแก้ไขเหตุเดือดร้อนรำคาญและมลภาวะ งานอาชีวอนามัยงานด้านสาธารณสุข ให้บริการด้านรักษา พยาบาลในเบื้องต้นเกี่ยวกับศูนย์บริการสาธารณสุข งานกองทุนหลักประกันสุขภาพ (เทศบาลได้เข้าร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ตั้งแต่ปี 2554) งานด้านสัตวแพทย์ ควบคุมโรงฆ่าสัตว์ ควบคุมและรับผิดชอบโรคที่เกิดจากสัตว์ ควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า การป้องกันสารเสพติดและโรคติดต่อต่าง ๆ งานถ่ายโอนการสงเคราะห์ผู้สูงอายุภายในโรงเจวัดโสธรวรารามวรวิหาร (ให้เทศบาลเมืองฉะเชิงเทราดูแล เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2548) งานเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตด้านสาธารณสุข งานคุ้มครองผู้บริโภค (ถ่ายโอนภารกิจจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2554) และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีส่วนราชการภายในกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ดังนี้
(1) ฝ่ายบริหารงานทั่วไป ประกอบด้วย
- งานธุรการ
(2) ฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข ประกอบด้วย
- งานแผนงานสาธารณสุข
- งานสุขาภิบาลอนามัยสิ่งแวดล้อม
- งานศูนย์บริการสาธารณสุข
- งานรักษาความสะอาด
(3) ฝ่ายบริการสาธารณสุข ประกอบด้วย
- งานส่งเสริมสุขภาพ
- งานสัตวแพทย์
6. กองช่าง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานรับเรื่องการขออนุญาต ออกใบอนุญาต ควบคุมการก่อสร้าง ดัดแปลงต่อเติม รื้อถอนอาคารภายในเขตเทศบาลให้ถูกต้องตามกฎหมายและการผังเมือง งานวิศวกรรม งานสถาปัตยกรรม ออกแบบและก่อสร้าง รวมทั้งงานสาธารณูปโภคในการก่อสร้างบำรุง รักษาอาคาร ถนน สะพาน ทางเท้า เขื่อน และสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ดูแลจัดให้มีสวนสาธารณะ สถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน การติดตั้งบำรุงรักษาไฟฟ้าสาธารณะ งานก่อสร้างและบำรุงรักษาถนน และสะพาน (ถ่ายโอนภารกิจงานบำรุงรักษาถนนของกรมทางหลวงบางส่วน จากกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2546 และ วันที่ 17 มกราคม 2547) งานดูแลรักษาที่สาธารณะ (ถ่ายโอนภารกิจจากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย) งานดูแลบำรุงรักษาทางน้ำ (ถ่ายโอนภารกิจจากกรมการขนส่งและพาณิชยนาวี กระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2548) งานควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง (ถ่ายโอนภารกิจจากกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2552) งานป้องกันคุ้มครอง ควบคุม ดูแลรักษาโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ดูแลรักษาโบราณสถานบริเวณกำแพงเมืองโบราณในเขตเทศบาล (ถ่ายโอนภารกิจจากกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม เมื่อปี 2547) งานวางและปรับปรุงผังเมืองรวม (ถ่ายโอนภารกิจจากกรมโยธาธิการและผังเมือง เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2552) และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีส่วนราชการภายในกองช่าง ดังนี้
(1) ฝ่ายบริหารงานทั่วไป ประกอบด้วย
- งานธุรการ
(2) ฝ่ายแบบแผนและก่อสร้าง ประกอบด้วย
- งานวิศวกรรม
- งานสถาปัตยกรรม- งานผังเมือง
(3) ฝ่ายการโยธา ประกอบด้วย
- งานสวนสาธารณะ
- งานสาธารณูปโภค
- งานศูนย์เครื่องจักรกล
7. กองช่างสุขาภิบาล มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมด้านวัสดุที่ใช้แล้ว (ขยะ) การจัดการคุณภาพน้ำ การควบคุมดูแลรักษา ตรวจสอบระบบบำบัดน้ำเสีย เฟส 1 ที่ได้รับการส่งมอบจากกรมโยธาธิการ งานก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย ระยะที่ 2 ปี 2545 – 2548 (ถ่ายโอนภารกิจจากสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) งานกำกับดูแลโรงงานอุตสาหกรรม (ถ่ายโอนภารกิจจากกระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2552) และเฟส 2 งานดูแลรักษาทางน้ำ คลองโสธร ความยาว 3 กิโลเมตร (ถ่ายโอนภารกิจจากโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพระองค์เจ้าไชยานุชิต เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2546) และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีส่วนราชการภายในกองช่างสุขาภิบาล ดังนี้
(1) ฝ่ายบริหารงานทั่วไป ประกอบด้วย
- งานธุรการ
(2) ฝ่ายจัดการสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย
- งานควบคุมและตรวจสอบการบำบัดน้ำเสีย
- งานกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
8. กองสวัสดิการสังคม มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานสังคมสงเคราะห์ประชาชน เด็กเยาวชน คนชรา คนพิการ งานส่งเสริมสวัสดิภาพเด็กเยาวชน งานส่งเสริมกิจการสตรี งานพัฒนาชุมชน การจัดระเบียบชุมชน ปฏิบัติงานตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ฝึกอบรมและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ประชาชนอยู่ดีกินดี ตามความจำเป็นพื้นฐาน ฝึกอบรมอาชีพ รับทราบปัญหาความต้องการของชุมชน เป็นผู้ติดตามและประสานงานสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดในพื้นที่และการจัดทำโครงการของชุมชนในเขตเทศบาล งานส่งเสริมอาชีพ (ถ่ายโอนภารกิจงานฝึกอาชีพจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อปี 2547) งานสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์ (ถ่ายโอนภารกิจจากกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตั้งแต่ปี 2547) และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีส่วนราชการภายในกองสวัสดิการสังคม ดังนี้
(1) ฝ่ายบริหารงานทั่วไป ประกอบด้วย
- งานธุรการ
(2) ฝ่ายพัฒนาชุมชน ประกอบด้วย
- งานพัฒนาชุมชน
(3) ฝ่ายส่งเสริมและสวัสดิการสังคม ประกอบด้วย
- งานสังคมสงเคราะห์
หน่วยงานในสังกัดเทศบาล
อาคารงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (สถานีดับเพลิง) ตั้งอยู่ถนนนิยมไทย ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2515 และได้ก่อสร้างอาคารส่วนต่อเติมขึ้นอีก เมื่อปี พ.ศ. 2534 ใช้เป็นที่พักของเจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและใช้เป็นศูนย์การปฏิบัติงานให้บริการรับแจ้งเหตุเพลิงไหม้ บริการน้ำแก่ประชาชน เป็นที่เก็บรักษารถดับเพลิง รถบรรทุกน้ำดับเพลิง รถดับเพลิงชนิดมีบันไดเลื่อนอัตโนมัติ รถยนต์กู้ภัย รถยนต์ตรวจการณ์ เรือยนต์ดับเพลิง และเครื่องดับเพลิงชนิดหาบหาม พื้นที่เป็นของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา ตั้งอยู่ถนนมรุพงษ์ ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2541 อยู่ในความดูแลของกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ใช้เป็นสถานพยาบาลที่เน้นหนักด้านการรักษาพยาบาลและป้องกันโรคเบื้องต้น การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ การดำเนินกิจกรรม อสม. รับบริการทำบัตรผู้มีรายได้น้อยและบัตรสุขภาพ เป็นต้น พื้นที่ตั้งเป็นที่ดินของธนารักษ์จังหวัดฉะเชิงเทรา
โรงเรียนเทศบาล 1 วัดแหลมใต้ (สุตสุนทร) เทศบาลเมืองฉะเชิงเทราได้รับโอนจากโรงเรียนประชาบาล ในปี พ.ศ. 2506 เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษา จนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีพื้นที่ 1 ไร่ 2 งาน 40 ตารางวา พื้นที่ตั้งเป็นของวัดแหลมใต้
โรงเรียนเทศบาล 2 พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2536 เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 ตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษา จนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีพื้นที่ 5 ไร่ 3 งาน 2 ตารางวา พื้นที่ตั้งเป็นที่ดินของเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา
หน่วยงานเทศพาณิชย์
สถานธนานุบาลเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา จัดตั้งขึ้นตามแนวนโยบายของผู้บริหารที่เห็นสมควรจัดให้ฟ
มีสถานที่ให้ความช่วยเหลือทางด้านเงินทุนแก่ผู้มีรายได้น้อยเพื่อมีทุนไปใช้จ่ายโดยเสียดอกเบี้ยในอัตราคงที่ ได้เปิดให้บริการตั้งแต่วันจันทร์ – วันศุกร์ เว้นวันหยุดราชการ เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรามีการดำเนินกิจการพาณิชย์ ด้านสถานธนานุบาล จำนวน 2 แห่ง ดังนี้
1. สถานธนานุบาลเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา แห่งที่ 1 ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2507 มีพนักงานสถานธนานุบาล จำนวน 10 คน จัดอยู่ ในประเภทสถานธนานุบาล ชั้น 1 พื้นที่ตั้งเป็นของอาคารสำนักงาน
ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เทศบาลได้เช่าไว้ประกอบกิจการ
2. สถานธนานุบาลเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา แห่งที่ 2 เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พศ. 2537 มีพนักงานสถานธนานุบาล จำนวน 7 คน จัดอยู่ในประเภทสถานธนานุบาลชั้น 5 พื้นที่ตั้งเป็นที่ดินของเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา
สถานีขนส่งผู้โดยสารเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา ได้รับการถ่ายโอนภารกิจจากกรมการขนส่งทางบกกระทรวงมหาดไทย ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วน-ท้องถิ่น พ.ศ. 2542 เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2548 มีพื้นที่ 5 ไร่ 4 ตารางวา อาคารสถานีขนส่ง 1 แห่งปัจจุบันมีพนักงานจ้าง จำนวน 11 คน